เมนู

ปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นยอดแห่ง
โพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน
จบจตุตถรุกขสูตรที่ 10
จบโพธิปักขิยวรรคที่ 7

อรรถกถาโพธิปักขิยวรรคที่ 7



ในโพธิปักขิยวรรคที่ 7. ผล 7 อย่าง เป็นส่วนเบื้องต้น บรรดา
ผลทั้ง 7 อย่างนั้น ผล 2 อย่างในหนหลัง ทำให้เป็นต้นแล้ว ก็เป็นของ
เจือกัน. คำที่เหลือในพระสูตรนี้ และคำทั้งหมดนอกจากนี้ ล้วนแต่ตื้น
ทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาโพธิปักขิยวรรคที่ 7
จบอรรถกถาอินทริยสังยุตที่ 4

อินทริยสังยุต คังคาทิเปยยาลที่ 8*



อานิสงส์แห่งการเจริญอินทรีย์ 5



[1082] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่ง
ไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญอินทรีย์ 5 กระทำ
ให้มากซึ่งอินทรีย์ 5 ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไป
นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
* คังคาทิเปยยาลที่ 8 ไม่มีอรรถกถาแก้.

[1083] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญอินทรีย์ 5 กระทำให้มาก
ซึ่งอินทรีย์ 5 อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
โอนไปสู่นิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัท-
ธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อม
เจริญวิริยินทรีย์... สตินทรีย์.. สมาธินทรีย์... ปัญญินทรีย์ อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญ
อินทรีย์ 5 กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์5 อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน
โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.
[1084] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน 5 นี้
สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต้น 5 เป็นไฉน คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ
อุทธัจจะ อวิชชา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน 5 นี้แล.
[1085] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 อันภิกษุพึงเจริญเพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน 5 นี้
แล อินทรีย์ 5 เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
เจริญสัทธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการ
สละ ฯลฯ ย่อมเจริญปัญญินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้อง
บน 5 นี้แล (อินทรีย์ที่อาศัยวิเวกเป็นต้น พึงขยายความออกไปเหมือนมรรค
สังยุต ).
[1086] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่ง
ลงสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญอินทรีย์ 5 กระทำ

ให้มากซึ่งอินทรีย์ 5 ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่
นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[1087] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญอินทรีย์ 5 กระทำให้มาก
ซึ่งอินทรีย์ 5 อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
โอนไปสู่นิพพาน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ มีอันกำจัดราคะ
เป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อม
เจริญปัญญินทรีย์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอัน
กำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอินทรีย์ 5 กระทำให้
มากซึ่งอินทรีย์ 5 อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน
โอนไปสู่นิพพาน.
[1088] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน 5 เหล่า
นี้ สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน 5 เป็นไฉน คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ
อุทธัจจะ อวิชชา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน 5
เหล่านี้แล.
[1089] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง
เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน
5 เหล่านี้แล อินทรีย์ 5 เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์
มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด
ฯลฯ ย่อมเจริญปัญญินทรีย์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่
สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 เหล่านี้ อัน

ภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์
อันเป็นส่วนเบื้องบน 5 เหล่านี้แล (อินทรียสังยุตมีส่วนเหมือนในมรรคสังยุต ).
จบคังคาทิเปยยาลที่ 8
จบอินทรียสังยุต

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. สัญโญชนสูตร 2. อนุสยสูตร 3. ปริญญาสูตร 4. อาสวัก-
ขยสู ร 5. ปฐมผลสูตร 6. ทุติยผลสูตร 7. ปฐมรุกขสูตร 8. ทุติย
รุกขสู ร 9. ตติยรุกขสูตร 10. จตุตถรุกขสูตรและอรรถกถา

สัมมัปปธานสังยุต



ว่าด้วยสัมมัปปธาน 4



[1090] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุ
ทั้งหลายแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน 4 เหล่านี้. สัมมัปปธาน
4 เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด
พยายาม ปรารภความเพียรประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรม
ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น 1 เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว 1 เพื่อให้กุศลธรรม
ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น 1 เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมี
ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งกุศล
ธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน 4 เหล่านี้แล.